กิจกรรมรักบ้านเกิดเชิดชูอัตลักษณ์น่าน(รถโมบายเคลื่อนที่)
กิจกรรมฝึกอบรมทำต้นกุ่มสักการะพระเจ้าน่าน
โครงการ การพัฒนาคุณภาพสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านหนองห้า
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเกิน100%ผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติ ลดการตกของสี สีมีความคงทน ได้เทคนิควิธีการสกัด การย้อม สีใหม่ๆ ได้สีเข้มกว่าเดิมได้ลวดลายผ้าทอ คอเลคชั่น “แนวน่าน “ จำนวน 6 ลวดลาย เป็นการนำลายผ้าทอโบราณของผ้าน่านมาประยุกต์ (ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงทอ) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าบ้านหนองห้า เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการย้อมสีจากธรรมชาติ กลุ่มมีรายได้จากจำหน่ายผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีจากธรรมชาติคอเลคชั่นเสาดิน ม่อนดอย ปี 2563 มากกว่า 300,000 บาท และคอเลคชั่นเสาดินม่อนดอย มีผู้ประกอบการผ้าน่านบุรี ขอซื้อสิทธิ์ลายเสาดินม่อนดอย เพื่อนำผ้าทอบ้านหนองห้าไปสร้างแบรนด์ใหม่ โดยรับซื้อไม่จำกัดจำนวน
โครงการการศึกษาอัตลักษณ์เรือแข่งจังหวัดน่านผ่านรูปแบบเชิงช่างศิลป์พิ้นถิ่นน่าน
จุม สล่าเรือแข่งน่าน คือ ปรากฏการณ์จากการศึกษาค้นคว้าของศูนย์น่านศึกษา(หออัตลักษณ์นครน่าน) วิทยาลัยชุมชนน่าน ที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. 6 การศึกษาเรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์เรือแข่งเมืองน่านผ่านรูปแบบ เชิงช่างศิลป์หัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน(The study of Nan city boat identity through The craftsmanship of Nan local
handicrafts)
ศูนย์น่านศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัยและนวัตกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ประจำปี 2563-2564 ดำเนินงาน “ โครงการการศึกษาอัตลักษณ์เรือแข่งเมืองน่าน ผ่านรูปแบบเชิงช่างศิลป์หัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน ” นั้น โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นถอดรูปแบบความงามและเอกลักษณ์เฉพาะตัวเรือแข่งเมืองน่านที่เป็นเชิงช่างหัตถศิลป์พื้นถิ่นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นแนวทางในการต่อยอด ต้นทุนของชุมชน รักษา อนุรักษ์ คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน การพัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน : การจัดการ การอนุรักษ์และการสร้างเครือข่ายในมิติทางด้านศิลปวัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นน่านศึกษา รวมทั้งเชื่อมโยงให้หออัตลักษณ์นครน่านเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สนับสนุนสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของเมืองน่าน แหล่งศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตและเผยแพร่องค์ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม พื้นถิ่นน่าน ทั้งนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าวข้างต้น ได้กำหนดให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งภูมิปัญญาการสร้างเรือประเพณีเรือแข่งของจังหวัดน่าน รูปแบบเชิงช่างเรือแข่งอัตลักษณ์น่านและเกี่ยวข้องกับบริบททางวัฒนธรรมสายน้ำของจังหวัดน่านในพื้นที่ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้แสดงน้อยลง
กิจกรรมเทศกาลศิลปะวัฒนธรรมเพื่อชุมชน
ศูนย์น่านศึกษา หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนได้ร่วมมือกับชุมชน ภาครัฐ เอกชน และภาคีเครือข่าย และดำเนินการจัดจากการดำเนินจัดกิจกรรมเทศกาลศิลปวัฒนธรรมเพื่อชุมชน ในวันที่16 – 17 มิถุนายน 2564 ลานโพธิ์ ชุมชนบ้านดอนมูล วิทยาลัยชุมชนน่าน จึงเกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของชุมชนระหว่างศูนย์น่านศึกษา หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่านเกิดการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ผ่านความเป็นอัตลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรม สังคม ธรรมชาติ และวิถีการดำรงชีวิต ทำให้เกิดความน่าสนใจ อันมีที่มาจากภูมิปัญญาของคนในชุมชน ส่งผลให้เกิดงานหัตถศิลป์สู่ชีวิตจริงประจำวัน พัฒนาเป็นเมือง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ ลานโพธิ์ ชุมชนบ้านดอนมูล ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เกิดการจัดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน จัดงานเทศกาลประจำชุมชน
กิจกรรมส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรม วิทยาลัยชุมชนน่าน ประจำปีงบประมาณ 2564
นักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยชุมชนน่านได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งเอกชนภาครัฐและชุมชน ในการจัดกิจกรรมที่สร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามเทศกาลและประเพณีของชุมชนเป็นประจำเช่น ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน ทุกปีจะมีการจัดงาน “ประเพณีหกเป็ง ประเพณีตานก๋วยสลาก อีกทั้งมีการบูรณาการจัดการเรียนรู้และเผยแพร่ในรายวิชาจังหวัดศึกษา
กิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหัวเรือแข่งอัตลักษณ์น่าน
วันที่ 1 – 2 กันยายน 2564 ณ วิทยาลัยชุมชนน่าน
หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน ดำเนินการกิจกรรมฝึกอบรมจัดทำหัวเรือแข่งอัตลักษณ์น่านเป็นรูปแบบของที่ระลึก ในวันที่ 1 – 2 กันยายน 2564 ณ วิทยาลัยชุมชนน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดดน่าน ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์น่านศึกษาให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เรือแข่งของจังหวัดน่าน ความเป็นมา เรื่องราวความสัมพันธ์ของคนน่านกับสายน้ำผ่านกิจกรรมที่คนในชุมชนทำร่วมกันเช่น ประเพณีเรือแข่งของจังหวัดน่าน ซึ่งถือเป็นการถอดทอดองค์ความรู้ด้านเรือแข่งของจังหวัดน่านให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรม และตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เกิดการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างรอยยิ้มให้คนเมืองน่าน ผ่านงานศิลปะและวัฒนธรรม ด้านอัตลักษณ์เรือแข่งในจังหวัดน่าน เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการองค์ความรู้และการสร้างพื้นที่เรียนรู้เสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งของชุมชน ระหว่างวิทยาลัยชุมชนน่านและชุมชน