[VDO]โครงการศึกษาชาติพันธุ์น่าน บ้านสกาด อำเภอปัว (ลัวะน่าน)

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนบ้านสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภายใต้กิจกรรมเวทีเสวนาวิชาการ ลัวะน่าน ตำนานแห่งขุนเขา โดยศูนย์น่านศึกษา หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน

ณ เทือกเขาภูคา ยอดเขาอันศักสิทธิ์ของคนน่าน กับชุมชนที่พัฒนาจากเส้นทางเดินโบราณ เชื่อมชุมชนตอนเหนือสู่จุดพักและลงสู่เมืองวรนคร(อำเภอปัว) ชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตเมี่ยง คุณภาพ Assam Tea ( ชาอัสสัม ) ชุมชน สกาด กับเรื่องเล่า การอพยพมาจากห้วยสะอาด ณ บ้านจูน ต. ภูคา อ. ปัว จ. น่าน และชุมชนดังเดิม และส่วนใหญ่เป็นเผ่าลัวะ และไทยวน ที่อาจมาจากการเดินทางค้าขาย และตัดสินใจปักหลักที่อาศัยอยู่ด้วยกันกับพี่น้องลัวะหลายชั่วอายุคน ต่อมามีการแบ่งแยกหมู่บ้านออกไปจากบ้านสกาดกลาง หมู่ 2 ได้แก่ บ้านสกาดเหนือ หมู่ 1 บ้านสกาดใต้ หมู่ 3 และบ้านภูกอก หมู่ 4 สกาด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา สูงชัน และเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย เนื้อที่ในตำบลสกาดมี 158,987 ไร่ หรือ 254.38 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นป่าสมบูรณ์ประมาณ 50206 ไร่ หรือ 80.33 ตารางกิโลเมตร ใต้ต้นไม้ใหญ่คือสวยใบเมี่ยงทั้งภูเขา ป่าเสื่อมโทรมประมาณ 30969 ไร่ หรือ 49.55 ตารางกิโลเมตร แยกมาจากพื้นที่ทำกินโดยประมาณ แบ่งเป็นพื้นที่ทำกิน 72312 ไร่ หรือ 120.50 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทำกินรวม ข้าวไร่ ข้าวโพด สวนผลไม้ และแบ่งพื้นที่อยู่อาศัย 2,500ไร่ หรือ 4 ตารางกิโลเมตรและที่น่าสนใจคือเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารประมาณ15 สาย ไหลลงไปสู่เมืองปัว สกาดพัฒนาเป็นตำบล เพราะมีประชากรมากขึ้นทั้งสิ้น 2,871 คน “ดอยสกาด” กลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในจังหวัดน่าน และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก สร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้ชุมชน อย่างน่าสนใจ ในวันนี้คนรุ่นใหม่เรียนรู้ที่จะกลับมาอยู่บ้านและสามารถสร้างงานสร้างรายได้ สิ่งที่สำคัญ ชุดความคิดของคนรุ่นใหม่ที่มองโอกาส และภาพฝัน อนาคตของบ้านเกิดตนเอง บนฐานความรักและห่วงแหนความเป็นตัวตนของชุมชนสกาด ที่มีวัฒนธรรมผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ลัวะกับไทยวน เมื่อนั่งฟังครูชัยยินดิ์ เจ้าของสกาดดีโฮมสเตย์ คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ได้ลาออกจากอาชีพครูโรงเรียนเอกชน กลับถิ่นฐานบ้านเกิดปรับเปลี่ยนบ้านที่อยู่อาศัยให้กลายเป็นโฮมสเตย์น่าพักคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มีความหลงไหลในธรรมชาติ พร้อมคิดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจิบชา ดริปกาแฟ ชมป่าเมี่ยง โดยยึดโยงการท่องเที่ยวกับวิถีชุมชนเป็นเสน่ห์ให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาอีกหลายๆครั้ง บ้านจักษ์กะพัฒน์ พี่น้องแฝดสยามที่เมื่อเรียนจบทางกฎหมายและหันหลังให้เมืองใหญ่ กลับบ้านมาสร้างอณาจักรของตนเองที่บ้านที่เริ่มต้นการเป็นเจ้าของไร่กาแฟ และพัฒนาเป็นบาเรสต้า เรียนรู้กระบวนการผลิตกาแฟคุณภาพ ด้วยความหลงไหลในรสชาดของกาแฟ แม้วันนี้สกาดเงียบเหงา แบบที่เคยเป็นก่อนที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เพราะพิษ Covid-19 ผมถามคนรุ่นใหม่เหล่านี้ว่าเมื่อหลังวิกฤต ชุมชนสกาดจะปรับตัวอย่างไร คำตอบที่ได้ คือ ไม่จำเป็นตรงปรับตัวอะไรเลย เพราะนี้คือสกาด และเรามีดี เรามีเสน่ห์ พอที่จะทำให้ผู้คนกลับมาเที่ยวบ้านเราอีกครั้ง